ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร
อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม




สภาพภูมิประเทศ :
    สภาพโดยทั่วไปของอำเภอปลาปาก เป็นที่ราบลุ่มสลับกับดอนป่าไม้เบญจพรรณ ซึ่งมีป่าประมาณ 40% ของพื้นที่ ลักษณะของดินเป็นดินลูกรังปนดินเหนียว ป่าเบญจพรรณนี้เป็นที่หาของป่าของชาวบ้าน อาทิ ผักหวาน ดอกกระเจียว ไข่มดแดง แมงแคง จั๊กจั่น และเห็นป่าหลายชนิด เช่น เห็นเผาะหนัง เห็ดบด เห็ดระโงก เป็นต้น ซึ่งเกิดตามฤดูกาลต่าง ๆ สามารถเก็บของป่าดังกล่าวไปขาย สร้างอาชีพและรายได้ให้กับราษฎรในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง ผู้คนจึงมีคนขนานนาม อำเภอปลาปาก ว่าเป็น "ดินแดนแห่งเห็นป่า ดอกกระเจียว ไข่มดแดง แมงแคง และจั๊กจั่น"
    ทรัพยากรดินของอำเภอปลาปาก ส่วนใหญ่จะมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำถึงต่ำมาก นอกจากนี้ยังเป็นดินตื้น ซึ่งมีกรวดลูกรังปะปนอยู่ในเนื้อดินมาก บางแห่งมีเนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ดังนั้นการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณที่ดินดังกล่าว จึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงสภาพของดินให้เหมาะสมกับพืชที่จะปลูก โดยการใช้อินทรีย์วัตถุในอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสม
 
สภาพภูมิอากาศ :
    ลักษณะภูมิอากาศของอำเภอปลาปาก มีลักษณะภูมิอากาศประเภทฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู ซึ่งหมายถึง บริเวณภูมิประเทศแถวนี้ จะมีฝนตกชุกอยู่ช่วงหนึ่งในรอบปี สลับกับช่วงอากาศแล้งที่เห็นชัดเจน โดยเฉพาะอุณหภูมิสูงตลอดปี
    เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร ลักษณะภูมิอากาศจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมประจำฤดูที่สำคัญคือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวคือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มในเดือน พฤษภาคม พัดเอาความชุ่มชื้นมาจากมหาสมุทรอินเดีย เข้ามาสู่บริเวณนี้ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงฤดูฝนของปี จะกินระยะเวลาไปจนถึงเดือน กันยายน ในช่วงนี้ถือเป็นช่วงฤดูเพาะปลูก ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะเริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ไปจนถึงเดือน กุมภาพันธ์ ซึ่งลมมรสุมนี้จะพัดเอาความแห้งแล้ง และความหนาวเย็นจากประเทศจีนเข้ามาในระยะนี้ อากาศจะเริ่มหนาวเย็นไปจนถึงเดือน กุมภาพันธ์ และระยะต่อมาจากกลางเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือน เมษายน จะเป็นช่วงที่อากาศร้อนจัด เพราะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้
    ภูมิอากาศในเขตอำเภอปลาปาก  แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
      ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม-พฤษภาคม มีอากาศร้อนอบอ้าว
      ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน-กันยายน มีฝนตกชุก
      ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นถึงหนาวจัด แห้งแล้ง และมีลมพัดแรง
 
ที่ตั้ง :
    อำเภอปลาปาก เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองนครพนม ห่างจากตัวจังหวัดนครพนม ประมาณ 44 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 675 กิโลเมตร
 
อาณาเขตติดต่อ :
    มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ประมาณ 547 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 346,875 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
    ทิศเหนือ ติดกับ เขตอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
    ทิศใต้ ติดกับ เขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
    ทิศตะวันออก ติดกับ เขตอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
    ทิศตะวันตก ติดกับ เขตอำเภอกุสุมาลย์ และอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร
 
เขตการปกครอง :
    ปัจจุบันอำเภอปลาปาก แบ่งเขตปกครองออกเป็น 8 ตำบล 85 หมู่บ้าน ดังนี้
ตำบล
ปลาปาก
กุตาไก้
โคกสว่าง
หนองฮี
โคกสูง
มหาชัย
นามะเขือ
หนองเทาใหญ่
หมู่ที่
1
ปลาปาก
นางาม
โคกสว่าง
หนองฮี
โคกสูง
ห้วยไหล่
นามะเขือ
หนองเทาใหญ่
2
ปลาปาก
โพนทา
โคกสว่าง
หนองฮี
ม่วง
มหาชัย
นามะเขือ
หนองเทาน้อย
3
ปลาปากน้อย
ดอนดู่
สีทน
โพนทัน
สว่างสำราญ
ดอนกลาง
แหลมทอง
นาเชือกน้อย
4
นาขาม
กุตาไก้
วังกะเบา
จรุกเตย
นกเหาะ
หนองบัว
หนองตีนตั่ง
นาเชือกใหญ่
5
กอก
กุตาไก้
นาสีนวล
ผักอีตู่
นกเหาะน้อย
วังม่วง
หนองแสง
ตับเต่า
6
วังสิม
วังโพธิ์
วังกะเบา
กุงโกน
ฮ่องโจด
ถาวร
หนองไผ่
หนองดู่
7
โคกกลาง
นาเรียง
สีทน
หนองกกคูณ
สว่างภูมี
ทันสมัย
โพนสวาง
หนองหมากแก้ว
8
หนองบัว
นาดอกไม้
โคกสว่าง
นาสะเดา
นกเหาะ
นาอุดม
หนองบัวคำ
ตับเต่า
9
ใหม่วังเชือม
โคกสะอาด
โพนทันกลาง
โคกสูง
นางิ้ว
10
วังยาง
กุตาไก้
กรุงใหม่
นกเหาะ
แสนสำราญ
11
โนนคูณ
นาดอกไม้
หนองฮี
หนองบัวคำ
12
โนนศรีวิลัย
ดอนดู่
หนองฮี
13
ปลาปากทุ่ง
14
นาขาม
15
โคกกลาง
16
หนองบัว
รวม
16
12
8
12
10
8
11
8
    การปกครองสว่นท้องถิ่น ประกอบด้วย
       1. เทศบาลตำบล 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลปลาปาก
       2. องค์การบริหารส่วนตำบล 8 แห่ง คือ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปลาปาก องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสูง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองฮี องค์การบริหารส่วนตำบลมหาชัย
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุตาไก้ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนามะเขือ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเทาใหญ่
จำนวนประชากรและครัวเรือน :
ที่
ตำบล
จำนวนประชาการ (คน)
ครัวเรือนทั้งหมด
ครัวเรือนเกษตรกร
ชาย
หญิง
รวม
1
ปลาปาก
4,699
4,867
9,566
2,222
2,031
2
กุตาไก้
4,364
4,407
8,771
1,957
1,924
3
โคกสว่าง
2,384
2,356
4,740
1,217
977
4
หนองฮี
3,709
3,820
7,529
1,555
1,449
5
โคกสูง
2,602
2,614
5,216
1,211
1,200
6
มหาชัย
2,556
2,737
5,293
1,189
1,111
7
นามะเขือ
2,970
2,966
5,936
1,233
1,229
8
หนองเทาใหญ่
1,484
1,584
3,068
791
569
รวม
24,768
25,351
50,119
11,375
10,490
    (ข้อมูลประชากร ณ เดือน พฤษภาคม 2550)
 
พื้นที่การเกษตร :
ที่
ตำบล
พื้นที่ถือครองทั้งหมด (ไร่)
พื้นที่ทำการเกษตร (ไร่)
รวมพื้นที่การเกษตร (ไร่)
ทำนา
ทำไร่
ทำสวน
พืชผัก
อื่น ๆ
1
ปลาปาก
62,875
28,314
3,380
1,950
1,860
2,400
37,904
2
กุตาไก้
65,812
24,630
3,841
841
279
4,394
33,958
3
โคกสว่าง
33,437
14,397
2,845
897
625
2,490
21,254
4
หนองฮี
46,500
27,575
348
1,164
527
2,389
32,003
5
โคกสูง
37,872
19,590
1,300
2,970
650
1,477
25,987
6
นามะเขือ
30,937
13,548
3,718
200
230
311
18,007
7
มหาชัย
44,500
13,592
790
1,049
430
2,593
18,454
8
หนองเทาใหญ่
20,002
11,214
1,530
1,981
386
1,443
16,554
รวม  8  ตำบล
341,935
152,860
17,752
11,025
4,987
17,497
204,121